วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Diary Note 24 April 2017

Diary Note No.10


สอนเสริมประสบการณ์วันพฤหัสบดี

หน่วยดิน เรื่อง ประโยชน์ของดิน



ภาพประกอบการสอน




ข้อเสนอแนะ
  • นิทานต้องเล่มใหญ่กว่านี้
  • สอนจากเนื้อหาในนิทาน
  • คำที่เขียนในนิทานต้องเป็นคำง่าย ๆ 
  • ภาพที่เตรียมมาต้องใหญ่กว่านี้

หน่วยนม เรื่อง ประโยชน์ของนม Cooking นมเย็น


ภาพประกอบการสอน




ข้อเสนอแนะ
  • บอกวัตถุดิบให้เด็กรู้จักก่อน เด็กจะได้รู้ว่าจะหยิบอะไรใส่
  • ทำเป็น 4 ชาร์ท เป็นกล่องลงมา
การประยุกต์ใช้กับ STEM

  • S การเปลี่ยนสีของนม
  • T ขั้นตอน วางแผน
  • E ได้นมเย็น
  • M ส่วนผสม กี่ช้อนชา

หน่วยไข่ เรื่อง Cooking ไข่พระอาทิตย์


ภาพประกอบการสอน


ข้อเสนอแนะ
  • ออกแบบได้ โดยให้เด็กได้ใส่ผักตามใจชอบ 
  • สร้างประเด็นปัญหา คือ ทำยังไงให้มันกินได้
  • ตั้งสมมติฐาน คือ ถ้าใส่ไข่ในกระทะร้อน ๆ เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น เด็กตอบว่า ไข่มันจะสุก นั่้นคือสมมติฐาน และหลังจากกนี้มาเริ่มทดลองกัน
  • ทำการทดลอง โดยสังเกต สี กลิ่น สถานะ

สอนเสริมประสบการณ์วันศุกร์

หน่วยดิน เรื่อง โทษของดิน


ภาพประกอบการสอน


ข้อเสนอะแนะ
  • ใช้ภาพทำเป็นประเด็นปัญหา
  • ใช้คำถามปลายเปิด มีกรณีศึกษาขึ้นมา เช่น เด็ก ๆ คิดอย่างไรเกี่ยวกับภาพนี้

หน่วยนม เรื่อง โทษของนม


ภาพประกอบการสอน


ข้อเสนอแนะ
  • ให้นำจากเพลงมาสอน

หน่วยไข่ เรื่อง การทำไข่เค็ม


ภาพประกอบการสอน



ข้อเสนอแนะ
  • ไข่ถ้าเราจะเก็บไว้นาน ๆ เด็ก ๆ จะทำอย่างไรคะ
  • นอกเหนือจากเพลงมีวิธีที่จะถนอมไข่เค็มได้อีกไหมคะ

Diary Note 20 April 2017

Diary Note No.9


สอนเสริมประสบการณ์วันจันทร์

หน่วยไข่ เรื่องประเภทของไข่


ภาพประกอบกิจกรรม





ข้อเสนอแนะ
  • เด็ก ๆ คิดว่าไข่ที่อยู่ในตะกร้ามีจำนวนกี่ฟอง เป็นการคาดคะเน
  • นับและเรียงจากซ้ายมือของเด็กไปยังขวามือของเด็ก เมื่อนับเสร็จแล้วให้เด็กออกมาปักป้ายกำกับจำนวน
  • ควรบอกเกณฑ์ในการแบ่งให้ชัดเจน เช่น ใช้ไข่ไก่เป็นเกณฑ์ 

หน่วยกล้วย เรื่องประเภทของกล้วย


ภาพประกอบกิจกรรม



ข้อเสนอแนะ
  • ถ้าเป็นเด็กอนุบาล 3 ให้เด็กจับกลุ่มกล้วยไปเลย
  • 1 ต่อ 1 เป็นระยะเริ่มต้น สอนครั้งแรก ครั้งต่อไปสอนจับกลุ่มเลย


สอนเสริมประสบการณ์วันอังคาร

หน่วยดิน เรื่องลักษณะของดิน


ภาพประกอบกิจกรรม


ข้อเสนอแนะ
  • ภาชนะที่ใส่ควรโปร่งแสง
  • เริ่มจากอะไรที่ไกล ๆ ก่อน มีประเด็นให้เด็กคิดต่อ 
  • ควรมีผ้าเช็ดมือให้เด็กเช็ด
  • เวลาเขียนบนชาร์ทให้เขียนสีเดียว เช่น สีนี้นะคะ เรียกว่า สีน้ำตาลเข้ม
  • ควรมีสีมาระบายในช่องของสี
  • ควรนำรูปมาติด
  • สังเคราะห์เสร็จสรุปจากชาร์ทเปรียบเทียบ มีสีเหมือนกันโดยดินเหนียว และดินร่วนมีสีน้ำตาลเข้ม ต่างกันโดยดินเหนียวระบายน้ำได้ไม่ดี และดินร่วนระบายน้ำได้ดี


หน่วยไข่ เรื่องลักษณะของไข่


ภาพประกอบกิจกรรม




สอนเสริมประสบการณ์วันพุธ

หน่วยไข่ เรื่องประโยชน์ของไข่


ภาพประกอบกิจกรรม


ข้อเสนอแนะ
  • นิทานต้องเล่มใหญ่กว่านี้
  • เล่าเสร็จควรสรุปเนื้อหาจากนิทาน
  • นิทานสอนอะไรเราต้องสอนตามนั้น
  • สรุปและบันทึกจากประสบการณ์เดิมของเด็กที่นอกเหนือจากนิทาน
  • ควรมีภาพมาประกอบ

Diary Note 27 March 2017

Diary Note No.8


สอนแผนเสริมประสบการณ์วันจันทร์

หน่วยดิน เรื่องประเภทของดิน


ภาพประกอบการสอน



หน่วยนม เรื่องประเภทของนม


ภาพประกอบการสอน



หน่วยสัตว์น่ารัก เรื่องประเภทของสัตว์



สอนแผนประสบการณ์วันอังคาร

หน่วยนม เรื่องลักษณะของนม



ภาพประกอบการสอน


Diary Note 13 March 2017

Diary Note No.7

กิจกรรมกับดักหนู





การสอนแบบโครงการ (Project Approach)



ลักษณะของการสอนแบบโครงการ (Project Approach) แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ดังนี้

  • ลักษณะที่ 1 การอภิปราย
  • ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
  • ลักษณะที่ 3 การทำงานภาคสนาม
  • ลักษณะที่ 4 การสืบค้น
  • ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง
วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Approach) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้น เริ่มต้นจากประสบการณ์เดิม ข้อคำถามที่เด็กสงสัย มีการสร้างประเด็นสำคัญ การบันทึก ออกแบบกิจกรรมโดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม
  • ระยะที่ 2 การรวบรวมข้อมูล เป็นการแสวงหาข้อมูลเพื่อตอบคำถามที่เด็กสงสัย ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง ตอนสุดท้ายของระยะที่ 2 คือ การวางแผนกำหนดหน้าที่ว่าใครจะนำเสนออะไร ในแต่ละระยะทำอะไรบ้าง
  • ระยะที่ 3 การสรุป คือการนำเสนอ การจัดแสดง ชิ้นงาน เป็นการนำผลงานของเด็กที่ทำมาแล้ว สอนเสร็จแล้ว มาทำเป็นสารนิทัศน์
การเลือกเรื่อง
  • ดูความต้องการของเด็กจริง ๆ ต้องไม่เกิดจากการลงมติ
  • เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
  • ผู้ปกครองให้ความร่วมมือได้
  • สอดคล้องกับหลักสูตร
การสอนแบบโครงการตอบสนองการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา ของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์

พหุปัญญา 8 ด้าน 
  1. ปัญญาด้านภาษา
  2. ปัญญาด้สนตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์
  3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
  4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
  5. ปัญญาด้านดนตรี
  6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์
  7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
  8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
ตรวจแผนเสริมประสบการณ์ของตนเอง

หน่วยดิน


Diary Note 6 March 2017

Diary Note No.6


เพลงที่ฝึกการใช้สมองเป็นฐาน

เพลง ศูนย์ สอง ห้า สิบ

ศูนย์ สอง ห้า สิบ (ซ้ำ)
นวดไหล่ซ้าย
นวดไหล่ขวา
แล้วหันมาหัวเราะกัน (ซ้ำ)
ฮะ ฮ่ะ ฮ่า ฮะ ฮ่ะ ฮ่า

เพลง จับหัว จับหู จับไหล่

จับหัว จับหู จับไหล่
จับดูใหม่ จับไหล่ จับหู
จับใหม่ จับให้ฉันดู (ซ้ำ)
จับหัว จับหู แล้วมาจับไหล่

เพลง อย่าเกียจคร้าน

อย่าเกียจคร้านการทำงานนะพวกเรา
งานหนักงานเบา เหนื่อยแล้วเราพักผ่อนก็หาย
ไม่มีงานหลบหลีกงาน ด้วยเกียจคร้าน เอาแต่สบาย
แก่จนตายขอทำนายว่าไม่เจริญ

เทคนิคการสอนร้องเพลง
  1. อ่านให้เด็กฟัง
  2. ให้เด็กร้องตามทีละวรรค
  3. ร้องพร้อมกัน
ภาพการทำกิจกรรม



Diary Note 4 March 2017

Diary Note No.5

นำเสนอแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ ในแต่ละหน่วย

หน่วยไข่



หน่วยนม



หน่วยดิน



ข้อเสนอแนะจากอาจารย์

  • ระบุเลยว่าจะสอนอะไร เช่น ให้เด็กเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่โดยการเขย่งปลายเท้า ตามจังหวะและสัญญาณ โดยให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในจังหวะปกติก่อน ตามด้วยจังหวะเร็ว และช้าตามลำดับ

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560

Diary Note 20 February 2017

Diary Note No.4

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ วันจันทร์

หน่วยไข่



หน่วยดิน



หน่วยนม


ที่มาของหน่วย

  • เป็นเรื่องที่เด็กสนใจ
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
  • สาระที่เด็กควรเรียนรู้
     เมื่อได้เรื่องแล้วนำมาแต่งเนื้อห้าเพื่อจะให้รู้ว่าเราจะเรียนอะไรบ้างและออกแบบให้เหมาะกับพัฒนาการเด็ก

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ 

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้

     "สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ได้ จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำ"

การบูรณาการ
  • คือ การนำศาสตร์ 2 ศาสตร์ มาเข้าด้วยกันผ่าน 6 กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
  • สิ่งที่เด็กต้องทำได้
สาระที่ควรเรียนรู้
  • เรียนเรื่องอะไร สอนอะไร
  • เนื้อหาที่เรียน
ประสบการณ์สำคัญ
  • นำมาจากหลักสูตร
กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
  • แยกออกมาในแต่ละด้าน
  • ช่วยเป็นเกณฑ์การประเมิน
กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  • ขั้นสังเกตและระบุปัญหา
         คือ ระบุปัญหา เรื่องที่เราต้องการจะศึกษา และกำหนดขอบเขตของปัญหา
  • ขั้นตั้งสมมติฐาน
         คือ การคาดเดาคำตอบ
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล
         คือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมติฐา่น หรือการทดลอง
  • ขั้นสรุปผล
         คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน
สังคม
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การช่วยเหลือตนเอง
  • การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ศิลปะ
  • กิจกรรมตกแต่ง ฉีก ตัด ปะ
ภาษา
  • การฟัง
  • การพูด
  • การอ่าน
  • การเขียน